วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พาร์ติชั่นและระบบไฟล์คืออะไร??

พาร์ติชั่นคืออะไร



สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์แล้วอาจจะสังเกตว่าเวลาที่เราใช้งานนั้นจะมีไดร์ต่างๆ ซึ่งมีมากกว่า 2 เพราะว่าการที่เราจำเป็นต้องแบ่งพาร์ติชั่นนั้นมีประโยชน์มากมาย เพราะว่าการแบ่งนั้นนอกจากมีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องเราแล้ว แต่ก็ยังที่จะสามารถแบ็คอัพข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นการสำรองข้อมมูลไม่ให้หายไปอีกด้วย และที่สำคัญถ้าหากระบบ Windows เกิดปัญหาหรือเกิดการเสียหายแล้วเราอาจที่จะล้างข้อมูลส่วนนั้นได้โดยไม่กระทบในส่วนอื่นที่เราเก็บข้อมูลเอาไว้ เช่น ถ้าหากเราเอาระบบ  windows ไว้ที่ไดร์ C แต่เราเก็บข้อมูลไว้ที่ไดร์ D เราก็สามารถที่จะล้างระบบของ windows ซึ่งอยู่ที่ไดรว์ C ได้โดยที่ไม่ได้ไปกระทบข้อมูลของไดวร์ D แต่อย่างใด



พาร์ติชั่นเป็นการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ โดยการจัดการและการกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นของแต่ละไดร์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เอง โดยการจัดการความต้องการนั้นขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์ เช่น เมื่อเรามีฮาร์ดดิสก์จำนวน 200 GB เราก็สามารถที่จะกันพื้นที่บางส่วนไว้ติดตั้ง Windows 50 GB ไว้เก็บข้อมูล 150 GB เป็นต้น


พาร์ติชั่นมีอยู่ 3 ประเภท
1. พาร์ติชั่นหลัก (Primary)

เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวต้องมีซึ่งเป็นพาร์ติชั่นแรกที่เราจะกำหนดพื้นที่ให้กับฮาร์ดดิสก์เพราะว่าเป็นพื้นที่ไว้สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการด้วยจึงควรที่จะกำหนดขนาดให้เหมาะสมด้วย พาร์ติชันหลักนั้นสามารถที่จะตั้งได้สูงสุด 4 พาร์ติชั่นเท่านั้น
2. พาร์ติชั่นรอง (Extended)
พาร์ติชั่นรองเป็นการแบ่งพื้นที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลนอกเหนือจากพาร์ติชั่นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็สมควรที่จะเก็บข้อมูลไว้ส่วนนี้เพราะจะได้ไม่ต้องไปยุ่งกับพาร์ติชันหลักหรือใครที่ติดตั้ง OS สองตัวสามารถที่จะติดตั้งเข้าได้เลย
3. พาร์ติชั่นย่อย (Logical)
พาร์ติชั่นย่อยเป็นพาร์ติชั่นที่ถูกแบ่งออกจากพาร์ติชั่นรองเพราะว่าตามจริงแล้วพาร์ติชั่นรองจะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่แบ่งพาร์ติชั่นย่อยเสียก่อน 
ระบบไฟล์ของฮาร์ดดิสก์
ระบบไฟล์ FAT 32
ระบบไฟล์ 32 เริ่มใช้งานมาตั้งแต่วินโดวส์ 98 ทั้งนี้เพื่อจักการกับปัญหาที่มีใน FAT โดยเปลี่ยนจากการอ้างอิงตำแหน่งแบบ 16 บิตใน FAT มาเป็นแบบ 32 บิต  ทำให้สามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ได้ใหญ่สูงสุด 2 TB หรือ 2,000 GB และเมื่อเปลี่ยนไปใช้  FAT32  กับพาร์ติชั่นขนาด 2 GB จะช่วยลดขนาดของคลัสเตอร์ลงเหลือเพียง 4 KB เท่านั้น 
ระบบไฟล์ FAT 32 ปกติจะไม่สามารถรองรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB ได้ ซึ่งปัญหานี้มีเกิดกับการใช้งาน DVD   Writer ที่มีขนาดใหญ่เกิดกว่า 4 GB ถ้าหากต้องการใช้งานแล้วต้องไปเปลี่ยนเป็นการใช้ไฟล์ NTFS เท่านั้น
ระบบไฟล์ NTFS
ระบบไฟล์ NTFS  นั้นเป็นระบบไฟล์ชนิดหนึ่งที่สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชั่นขนาดใหญ่ได้สบายซึ่งได้พัฒนามาใช้ร่วมกับ Windows NT เพราะระบบไฟล์ชนิดนั้นมีความปลอดภัยสูงและสามารถจัดระบบไฟล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่และสามารถสั่งบีบอัดไฟล์ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น