หลายคนมีปัญหาหลังจากที่ Boot Windows เสร็จแล้ว จะเริ่มต้นหน้า Start ทุกครั้ง ทำให้ไม่ชินกับการใช้งานเพราะต้องมานั่งกดกลับไปหน้า Desktop ทุกครั้งหลัง Boot เสร็จ 😕
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษา Win 8/8.1 ด้วยตัวหนอน!!
วินโดว์ 8/8.1 นั้น การเปลี่ยนภาษาในการพิมพ์จะต้องกด Alt+Shift เพื่อเปลี่ยนภาษา ทำให้หลายๆ คน ไม่คุ้นเคย หรือไม่สะดวกในการใช้งาน วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการตั้งค่าเปลี่ยนภาษาด้วยตัวหนอนที่แสนจะง่ายดาย
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีปิดการทำงานของ User Account Control!!
User Account Control คือโปรแกรมควบคุมบัญชีผู้ใช้มีมาตั้งแต่วินโดว์วิสต้ามาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมันจะขึ้นมาตอนที่เราเปิดไฟล์แอฟพลิเคชันอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความรำคาญเป็นอย่างมาก ซึ่งเราก็ควรที่จะปิดมันไปซะ 😈
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สร้าง USB Flash Drive Boot สำหรับลงวินโดว์ ด้วย Rufus!!
Rufus😆 เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้าง UEFI USB Flash Drive Boot เพื่อลง Windows วิธีการทำงานคือการบูตหน้าต่างการลงวินโดว์โดยใช้ USB Flash Drive ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แผ่น CD/DVD เหมือนสมัยก่อน โดยใช้แค่ไฟล์วินโดว์ที่เป็นไฟล์ ISO และ USB Flash Drive
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีเปลี่ยนระบบแฟ้มของ Flash Drive จาก FAT32 เป็น NTFS!!
FAT32😆 ได้รับการพัฒนามาจากตารางจัดเก็บไฟล์ (File Allocation Table) ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
NTFS😊 (New Technology File System) เป็นระบบไฟล์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับ Windows NT ไมโครซอฟท์แนะนำให้ยูสเซอร์เลือกใช้ NTFS ด้วยเหตุผลที่ว่ามันมีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยกว่า FAT32
- พัฒนาโดย Microsoft พัฒนาในครั้งแรกใช้ใน Windows 95 OSR2 ในปี 1996
- โครงสร้างทาง Data Structure เป็น Linked List
- ขนาดความจุต่อ Partition รองรับได้ไม่เกิน 2 TB(2,048 GB)
- ใช้ความจุสูงสุดต่อไฟล์ที่ 4 GB
- บรรจุจำนวนไฟล์ได้มากสุด 268,435,437 ไฟล์
- ชื่อไฟล์ตั้งได้ที่ความยาว 8 ตัวอักษร
- ระยะเวลาของไฟล์ที่สามารถบ่งบอกเวลาและวันที่ได้ถูกต้อง 01/01/1980-31/12/2107
NTFS😊 (New Technology File System) เป็นระบบไฟล์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับ Windows NT ไมโครซอฟท์แนะนำให้ยูสเซอร์เลือกใช้ NTFS ด้วยเหตุผลที่ว่ามันมีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยกว่า FAT32
- พัฒนาโดย Microsoft เริ่มครั้งแรกใน Windows NT 3.1
- โครงสร้างทาง Data Structure เป็น B+-tree
- ขนาดความจุต่อ Partition รองรับได้ไม่เกิน 16 EB(17,179,869,184 GB)
- ใช้ความจุสูงสุดต่อไฟล์ที่ 16 EB(17,179,869,184 GB)
- บรรจุจำนวนไฟล์ได้มากสุด 4,294,967,295 ไฟล์
- ชื่อไฟล์ตั้งได้ที่ความยาว 255 ตัวอักษร
- ระยะเวลาของไฟล์ที่สามารถบ่งบอกเวลาและวันที่ได้ถูกต้อง 01/01/1601-28/04/60056
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เทคนิคปรับ IDM ให้ดาวน์โหลดเร็วกว่าเดิม!!
โดยปกติการตั้งค่าพื้นฐานของโปรแกรมนั้น ก็สามารถทำให้ดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่วันนี้จะมาดูเทคนิคการเพิ่มความเร็วให้กับโปรแกรม ให้ดาวน์โหลดข้อมูลรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม 😃
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ปุ่มกดเข้า Bios และ Boot Menu PC/NB ของแต่ละยี่ห้อ
การเข้าไปเซ็ตค่าไบออสหรือจะเป็นการลงวินโดว์นั้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน็ตบุ๊คจะมีการเข้าหน้าไบออสและหน้าบู๊ตเมนูที่แตกต่างกันไปตามยี่ห้อต่างๆ วันนี้จะมาบอกปุ่มเข้าหน้าไบออสและบู๊ตเมนูเพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับคนที่ยังไม่รู้หรือรู้แล้วแต่จำไม่ได้ 😀😀
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีเปลี่ยนไดรฟ์ (Drive)!!
ถ้าหากเราพึ่งลงวินโดว์ใหม่แล้วไดรฟ์เกิดไม่ตรงหรือเราต้องการที่จะสลับสับเปลี่ยนไดรฟ์ก็สามารถทำได้ง่ายมากๆ 😊😊
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีซ่อมไฟล์ที่เสียด้วย Winrar!!
การซ่อมไฟล์ที่เสียหรือมีปัญหาสามารถทำได้เฉพาะไฟล์ที่ใส่ Recovery Record เท่านั้นนะครับ 😊
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีแบ่งไฟล์เป็น Part การตั้ง Password และการใส่ Recovery Record ด้วย Winrar!!
Winrar เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบีบอัดข้อมูลหรือไฟล์ทุกรูปแบบซึ่งสามารถทำให้ไฟล์เล็กลงกว่าเดิม เพื่อให้ง่ายต่อการถ่ายโอนข้อมูล เช่น การลงแผ่น CD หรืออุประกรณ์บันทึกข้อมูล การดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต 😊
ความสามารถอีกอย่างของ Winrar คือการแบ่งไฟล์ออกเป็น Part เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงไปตามที่เราต้องการ ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลมีพื้นที่จำกัด เช่น แผ่น CD , Memory Card หรือ Flash Drive เป็นต้น
ความสามารถอีกอย่างของ Winrar คือการแบ่งไฟล์ออกเป็น Part เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงไปตามที่เราต้องการ ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลมีพื้นที่จำกัด เช่น แผ่น CD , Memory Card หรือ Flash Drive เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีการปิด Windows Update!!
การอัพเดทอัตโนมัติของ Windows นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการอัพเดทระบบต่างๆ ในระบบปฏิบัติการ หรือ Windows ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข้อเสียต่างๆ หรือ ระบบรักษาความปลอดภัยให้ดีขึ้นเพราะมีการอัพเดทอยู่เสมอและลดความเสี่ยงในการใช้งานมากยิ่งขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ดีที่จะต้องปิดการอัพเดท
แต่สำหรับหลายๆคนแล้วยังคงอยากที่จะปิดการอัพเดทของ Windows ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัวหรือเพราะการอัพเดทใช้เวลานานและทำให้คอมพิวเตอร์ช้าลง
แต่สำหรับหลายๆคนแล้วยังคงอยากที่จะปิดการอัพเดทของ Windows ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัวหรือเพราะการอัพเดทใช้เวลานานและทำให้คอมพิวเตอร์ช้าลง
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีแก้ปัญหา Notepad อ่านภาษาไทยไม่ได้!!
หลายคนคงเจอปัญหาหลังจากที่ลง Windows ใหม่เรียบร้อยทั้ง Windows 7 , Windows 8.1 , Windows 10 และทำการเปิดไฟล์ Notepad และปรากฎว่าตัวหนังสือหรือข้อความใน Notepad นั้นอ่านไม่ออกสำหรับภาษาไทย หรือเป็นภาษาต่างดาว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็อ่านได้ปกติ แล้วจะแก้ไขยังไงกับ Notepad ที่เปิดแล้วอ่านข้อความไม่ออก วันนี้มีวิธีแก้ครับ
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีการสร้าง System Restore และวิธีการ System Restore!!
System Restore คือเครื่องมือของ Windows ตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับการย้อนเวลาก่อนที่ระบบ Windows จะเสียหายหรือใช้งานไม่ได้ ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่า "System" Restore" คือเป็นการย้อนเวลากลับมายังในตำแหน่งเดิมที่เรายังเคยใช้งาน Windows ได้ปกติ ซึ่งการทำงานของ System Restore จะทำการบันทึกจุดหรือตำแหน่งที่ Windows ที่ได้มีการสั่งบันทึกไว้ โดย Windows จะมีการกันพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เก็บเอาไว้
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ปิดโฆษณา Youtube ด้วย Adblock!!
หลายๆคนคงรำคาญโฆษณาเวลาก่อนดู Youtube หรือกำลังดูอยู่ก็มีโฆษณาแทรกขึ้นมา มีคนถามเข้ามาว่ามีวิธีปิดหรือลบออกไหมและหลายคนก็ยังไม่รู้ว่ามีวิธีปิดหรือทำไม่เป็น วันนี้จะมาสอนการปิดโฆษณาด้วย Adblock
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
จัดเรียงข้อมูลและเพิ่มความเร็วคอมพิวเตอร์ด้วย Defragment and Optimize!!
Defragment and Optimize เป็นการสั่งให้ฮาร์ดดิสก์ทำการจัดเรียงข้อมูลใหม่ เพราะโดยปกตินั้นฮาร์ดดิสก์จะจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบสุ่ม ทำให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ถูกจัดเรียงและยังมีการลบไฟล์ ย้ายไฟล์บ่อยๆ ทำให้ข้อมูลไม่ถูกจัดเรียงมากขึ้นจึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลช้าลงและเป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ช้าลงไปด้วย
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ตั้งเวลาปิดคอมพิวเตอร์ทำยังไงนะ??
วันนี้จะมานำเสนอวิธีการตั้งเวลาปิดคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ เพราะโดยบางครั้งเราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งเอาไว้ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นการช่วยประหยัดไฟได้อีกช่องทางนึงได้เหมือนกัน
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ลำโพงขึ้นกากบาทสีแดงทำไงดีนะ??
หลายคนกำลังประสบปัญหาเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานกลับพบว่าไอค่อนลำโพงมีกากบาทสีแดงและไม่สามารถได้ยินเสียงที่เราเปิดสื่อต่างๆได้นั่นเอง วันนี้จะมานำเสนอวิธีการแก้ไขง่ายๆเพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอน
วิธีนี้เป็นกรณีที่มีไดร์เวอร์เสียงถูกต้องครบถ้วนนะครับ ^^
วิธีนี้เป็นกรณีที่มีไดร์เวอร์เสียงถูกต้องครบถ้วนนะครับ ^^
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
หน้าที่และส่วนประกอบที่สำคัญของเมนบอร์ด!!
เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุมดูแลและจัดการการทำงานของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียูไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส
เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุมดูแลและจัดการการทำงานของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียูไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีการแบ่งพาร์ติชั่นโดยไม่ต้องใช้โปรแกรม วินโดว์ 7, 8.1 ,10!!
สำหรับการแบ่งพาร์ติชั่นดิสก์ของ Windows 7 , Windows 8.1 และ Windows 10 นั้น มีวิธีการทำที่เหมือนๆกันในการแบ่งดิสก์ออกมาเป็นหลายๆไดร์ เช่น ไดร์ C , ไดร์ D , ไดร์ E โดยวันนี้จะมาสอนวิธีการแบ่งพาร์ติชั่นของดิสก์โดยเป็นวิธีที่ง่ายๆ ที่สามารถทำได้เลย
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
พาร์ติชั่นและระบบไฟล์คืออะไร??
พาร์ติชั่นคืออะไร
สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์แล้วอาจจะสังเกตว่าเวลาที่เราใช้งานนั้นจะมีไดร์ต่างๆ ซึ่งมีมากกว่า 2 เพราะว่าการที่เราจำเป็นต้องแบ่งพาร์ติชั่นนั้นมีประโยชน์มากมาย เพราะว่าการแบ่งนั้นนอกจากมีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องเราแล้ว แต่ก็ยังที่จะสามารถแบ็คอัพข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นการสำรองข้อมมูลไม่ให้หายไปอีกด้วย และที่สำคัญถ้าหากระบบ Windows เกิดปัญหาหรือเกิดการเสียหายแล้วเราอาจที่จะล้างข้อมูลส่วนนั้นได้โดยไม่กระทบในส่วนอื่นที่เราเก็บข้อมูลเอาไว้ เช่น ถ้าหากเราเอาระบบ windows ไว้ที่ไดร์ C แต่เราเก็บข้อมูลไว้ที่ไดร์ D เราก็สามารถที่จะล้างระบบของ windows ซึ่งอยู่ที่ไดรว์ C ได้โดยที่ไม่ได้ไปกระทบข้อมูลของไดวร์ D แต่อย่างใด
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Software หมายถึงอะไร??
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงานมีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประเภทของคอมพิวเตอร์!!
ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 3 ประเภท
1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่วไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์!!
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
คอมพิวเตอร์คืออะไร???
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electrinic Device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (Programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์ ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)